ระบบสารสนเทศสำหรับวิสาหกิจ

 

ระบบสารสนเทศสำหรับวิสาหกิจ
      ระบบสารสนเทศนั้นแบ่งออกเป็น 4 ชนิดหลัก 1.ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง (Executive Support Sytem: ESS) 2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS) 3.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS) 4.ระบบประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงข้อมูล (Transaction Processing System: TPS) ในองค์กรร่วมสมัยในปัจจุบัน ระบบสารสนเทศในกะดับปฏิบัติการได้แก่ ระบบประมวลผลรายการธุรกรรม (TPS) เช่น ระบบบัญชีเงินเดือน หรือระบบรับคำสั่งซื้อสินค้า ซึ่งจะติดตามการไหลเวียนของข้อมูลในรายการธุรกรรมที่เกิดขึ้นเป็นงานประจำวันที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ ระบบในระดับผู้บริหาร (MIS และ DIS) สนับสนุนการควบคุมการบริหารงานด้วยรายงานชนิดต่างๆ และความสามาร-เข้าถึงระบบข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กรในปัจจุบันและในอดีต ระบบ MIS ส่วนใหญ่รายงานข้อมูลที่เป็นการย่อความมาจากระบบ TPS และไม่มีการวิเคราะห์ข้อมูลมากนัก ระบบ DSS สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารเมื่อการตัดสินใจนี้เป็นเรื่องเฉพาะ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและไม่มีการกำหนดเอาไว้ล่วงหน้า ระบบ DSS ประกอบด้วยรูปแบบจำลองเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อนจึงมีความสามรถในการวิเคราะห์ข้อมูลมากกว่าระบบ MIS และมักจะให้ภาพของข้อมูลที่รวบรวมมาจากภายในและภายนอกองค์กร ระบบ ESS สนับสนุนงานในระดับการวางกลยุทธ์ขององค์กรด้วยการสนับสนุนข้อมูลที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับผู้บริหารระดับสูงเพื่อการนำไปใช้ในการตัดสินใจมักจะนำเสนอในรูปแบบกราฟและแผนภูมิชนิดต่างๆ ระบบนี้มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลในระดับต่ำแต่วาสมารถสร้างภาพกราฟฟิกที่มีความซับซ้อนสูงมากได้จากข้อมูลที่รวบรวมมาจากแหล่งข้องมูลภายในและภายนอกองค์กร
                ระบบสารสนเทศชนิดต่างๆ ในองค์กรจะแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ระบบ TPS เป็นแหล่งที่ป้อนข้อมูลส่วนใหญ่เข้าสู่ระบบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบ MIS และ DSS ระบบ ESS ได้รับข้อมูลส่วนใหญ่มาจากระบบในระดับล่าง สิ่งแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันเรียกร้องให้เกิดการบูรณาการระหว่างระบบงานต่างๆ เข้าด้วยกันมากว่าในอดีตที่ผ่านมา ในแต่ละระดับการปฏิบัติงานในองค์กร ระบบสารสนเทศสนับสนุนหน้าที่หลักฝ่ายต่างๆ ในทางธุรกิจ ฝ่ายขายและการตลาดช่วยให้องค์กรธุรกิจสามรถระบุตัวลูกค้าที่เหมาะสมกับสินค้าและบริการขององค์กร สามารถพัฒนาสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าส่งเสริมการขายสินค้าและบริการและสนับสนุนการให้ริการลูกค้าย่างต่อเนื่อง ฝ่ายการผลิตและผลิตผลเกี่ยวข้องกับการวางแผน การพัฒนา และการผลิตสินค้าและบริการ และควบคุมการหมุนเวียนผลผลิตฝ่ายการเงินและการบัญชีติดตามทรัพย์สินขององค์กรที่เป็นเงินและการไหลของเงินทุน ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จัดเก็บรักษาข้อมูลพนักงาน ติดตามข้อมูลความเชี่ยวชาญของพนักงาน ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและการฝึกอบรมและสนับสนุนการวางแผนเกี่ยวกับสวัสดิการตอบแทนพนักงานและการพัฒนาอาชีพให้แก่พนักงาน กระบวนการทางธุรกิจหมายถึงธรรมเนียมปฏิบัติที่ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ในการปฏิบัติงานได้ถูกจัดโครงสร้างประสานงาน แงะมุ่งเน้นเพื่อการผลิตผลลัพธ์เฉพาะทางธุรกิจ กระบวนการทางธุรกิจยังเป็นตัวแทนของวิธีการเฉพาะที่ซึ่งองค์กรจัดการประสานงาน ข่าวสารและองค์ความรู้ และเป็นตัวแทนของวิธีการต่างๆ ที่ซึ่งฝ่ายบริหารเลือกที่จะประสานงาน ผู้บริหารจำเป็นจะต้องให้ความสนใจต่อกระบวนการทางธุรกิจเนื่องจากเป็นสิ่งที่กำหนดวิธีการว่างองค์กรสามารถปฏิบัติงานได้ดีเพียงใด และดังนั้นจึงเป็นแหล่งที่บอกให้ทราบถึงความล้มเหลวหรือความสำเร็จในทางกลยุทธ์ แม้ว่าหน้าที่ทางธุรกิจในแต่ละด้านจะประกอด้วยกระบวนการทางธุรกิจของตนเอง แต่กระบวนการทางธุรกิจบางส่วนก็เป็นการทำงานข้ามหน้าที่หลายอย่าง เช่น การจัดการตอบสนองคำสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า ระบบสารสนเทศสามารถช่วยให้องค์กรมีประสิทธิภาพการทำงานในระดับสูงได้ด้วยการทำให้กระบวนการทั้งหลายเกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติ หรือด้วยการช่วยให้องค์กรมีประสิทธิภาพการทำงานในระดับสูงได้ด้วยการทำให้กระบวนการทั้งหลายเกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติ หรือด้วยการช่วยให้องค์กรเกิดความยั้งคิดและปรับปรุงกระบวนการให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น องค์กรธุรกิจจะมีความอ่อนตัวมากยิ่งขึ้นและมีประสิทธิภาพสูงขึ้งด้วยการประสานงานและบูรณาการกระบวนการต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อเป็นการปรับปรุงการบริหารจัดการทรัพยากรและการให้บริการลูกค้า
                  งานประยุกต์วิสาหกิจ เช่น ระบบงานวิสาหกิจ ระบบบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ระบบบริหารลูกค้าสัมพันธ์และระบบบริหารจัดการองค์ความรู้ ได้รับการออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการประสานงานและการบูรณาการกระบวนการทำงานทั่วทั้งองค์กรเพื่อให้องค์การสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ระบบเหล่านี้ได้ขยายขอบเขตการทำงานออกไปหลายหน้าที่และหลายกระบวนการธุรกิจและอาจจะมีความผูกพันกับกระบวนการทางธุรกิจขององค์การอื่น ระบบงานวิสาหกิจบูรณาการกระบวนการหลักทางธุรกิจภายในองค์กรเข้าเป็นระบบซอฟต์แวร์ตัวหนึ่งเพื่อให้ข่าวสารสามารถไหลเวียนไปได้ทั่วทั้งองค์กร ปรับปรุงการประสานงาน ประระสิทธิภาพ และกระบวนการตัดสินใจ ระบบบริหารห่วงโซ่อุปทานช่วยให้องค์กรธุรกิจบริหารจัดการความสัมพันธ์กับบริษัทผู้สนับสนุนวัตถุดิบเพื่อที่จะทำให้การวางแผน
              การหาแหล่งวัตถุดิบ การผลิตสินค้า และการนำส่งสินค้าและบริการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ใช้ระบบสารสนเทศในการประสานงานกระบวนการทางธุรกิจทั้งหลายที่ห้อมล้อมองค์กรและมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเข้าด้วยกัน เพื่อที่จะทำให้องค์กรมีรายรับสูงสุดในขณะที่ทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจมากที่สุด ระบบบริหารจัดการองค์ความรู้ช่วยให้องค์กรธุรกิจมีประสิทธิภาพสูงสุดในด้านการสร้าง การช้างานร่วมกัน การกระจาย และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้เพื่อที่จะปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจและกระบวนการตัดสินในขององค์กร